ตะลิงปลิง เปรี้ยวตาปิด
ลักษณะของต้นตะลิงปลิง มีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล
สมุนไพรตะลิงปลิง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มูงมัง (เกาะสมุย), กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง (ระนอง), บลีมิง (นราธิวาส), มะเฟืองตรน, หลิงปลิง (ภาคใต้) เป็นต้นลักษณะของตะลิงปลิง→ต้นตะลิงปลิง -มีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งทะเลของบราซิล เป็นไม้ผลที่นิยมปลูกทั่วไปเพราะลำต้นมีพวงแน่นที่สวยงาม และยังเป็นพืชร่วมวงศ์กับมะเฟือง แต่จะแตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงขนาดของผล โดยผลมะเฟืองจะมีขนาดใหญ่กว่าผลตะลิงปลิง ต้นตะลิงปลิงนั้นจัดเป็นพืชในเขตร้อนและเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีชมพู ผิวเรียบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ตามกิ่ง
→ใบตะลิงปลิง -เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อนมีขุยนุ่มปกคลุม ใบคล้ายรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ในหนึ่งก้านจะมีใบย่อยประมาณ 11-37 ใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร
→ดอกตะลิงปลิง- จะออกดอกเป็นช่อหลายช่อ ตามกิ่งและลำต้น โดยในแต่ละช่อจะมีความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว ลักษณะดอกมีกลีบ 5 กลีบ ดอกสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบสีเขียวอมชมพู มีเกสรกลางดอกสีขาว
→ผลตะลิงปลิง -ลักษณะกลมยาวปลายมน ผลยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นพูตามยาว ออกผลเป็นช่อห้อย ผิวของผลมีลักษณะเรียบสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลือง เนื้อข้างในเป็นเนื้อเหลว มีรสเปรี้ยว และมีเมล็ด ลักษณะของเมล็ดตะลิงปลิงจะแบนยาว มีสีขาว
สรรพคุณของตะลิงปลิง
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผล)
- ช่วยแก้พิษร้อนใน แก้กระหายน้ำ (ราก)
- ผลใช้ผสมกับพริกไทย นำมารับประทานจะช่วยขับเหงื่อได้ (ผล)
- ตะลิงปลิงมีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต (ผล)
- ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)
- ในประเทศฟิลิปปินส์ใช้ใบพอกรักษาคางทูม (ใบ, ราก)
- สมุนไพรตะลิงปลิงมีสรรพคุณเป็นยาลดไข้ (ผล)
- ช่วยดับพิษร้อนของไข้ (ราก)
- ดอกตะลิงปลิงนำมาชงเป็นชาดื่มช่วยแก้อาการไอ (ดอก, ผล)
- ช่วยละลายเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น (ผล)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น